บทความ ARTICLES

ข้อควรรู้เกี่ยวกับกันแดด SPF ,PA+++

08 ตุลาคม 2559

ประเทศไทยอยู่ในโซนเขตร้อนมีแสงแดดจัดเกือบตลอดทั้งปีจึงยากที่จะหลบเลี่ยงแสงแดดได้ หากได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือได้รับในช่วงเวลาที่แดดจัด (10.00-16.00 น.) รังสีอัลตราไวโอเลต (ยูวี) จะไปทำให้ผิวหนังคล้ำหรือเหี่ยวย่นก่อนวัย อาจทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ผลิตภัณฑ์กันแดดจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการป้องกันภัยร้ายที่อาจเกิดจากแสงแดด สามารถลดปริมาณรังสียูวีที่จะมาถึงผิว
ซึ่งสารป้องกันแดดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
-กลุ่มสารที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง เช่น titaium dioxide , zinc oxide สารกลุ่มนี้จะเคลือบบนผิวไม่ดูดซึมเข้าผิวหนัง
-กลุ่มสารที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสียูวี เช่น bezophenone,octinoxate ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังน้อยลง

ครีมกันแดดที่ดีควร Broad Spectrum คือสามารถช่วยป้องกันทั้งรังสี UVA ทำให้ผิวแก่เกิดริ้วรอย(aging) และรังสี UVB ทำให้ผิวไหม้และคล้ำ (burn)
*ค่า SPF (Sun Protection Factor) จะเป็นตัวบ่งบอกให้ทราบว่าเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นแล้วจะช่วยป้องกันรังสียูวีบีจากแสงแดดได้นานแค่ไหนผิวจึงจะไหม้ โดยขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงแดด โดยทั่วไปควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30ขึ้นไป ซึ่งผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF สูง จะมีความเข้มข้นของสารป้องกันแสงแดดที่สูงตามไปด้วย อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้มากกว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำ จึงต้องระมัดระวังในการใช้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน สำหรับค่า SPF สูงกว่า 50 (ในฉลากแสดงเป็น SPF 50+) ก็ไม่ได้แตกต่างไปจาก SPF 30 มากนัก แต่ราคาจะแตกต่างกันมาก จึงควรพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม
ทาง laniakea จึงเลือกใช้ SPF 40 เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการกันแดดและลดโอกาสการระคายเคืองจาก SPFที่สูงเกินไป
*ค่า PA (Protection grade of UVA) หรือ PFA (Protection factor for UV-A) นั้น เป็นการช่วยป้องกันรังสียูวีเอที่เป็นสาเหตุให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและโรคมะเร็งผิวหนัง โดยสามารถดูค่าบนฉลากที่จะแสดงระดับเป็น PA+ หรือ PA++ หรือ PA+++ ขึ้นกับระดับความสามารถจากน้อยไปหามากในการป้องกันรังสียูวีเอ
ทั้งนี้ วิธีการป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ดีที่สุด ควรอยู่ในที่ร่ม สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดสวมหมวกปีกกว้าง รวมทั้งสวมแว่นกันแดดด้วย เพราะรังสียูวีนั้นนอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังแล้วยังเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจกได้ด้วย ทาก่อนออกไปกลางแจ้งอย่างน้อย 15-30 นาที ยกเว้นรอบดวงตาและริมฝีปาก